การวัดอุณหภูมิ
เรื่อง Semi-conductor Temperature Sensor
1.
เพื่อศึกษาหลักการวัดอุณหภูมิในอุตสาหกรรม
2.
เพื่อศึกษาหลักวิธีการควบคุมอุณหภูมิในอุตสาหกรรมเบื้องต้น
3.
เพื่อเข้าใจวิธีการวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมคัพเปิลและอาร์ทีดี
หลักการวัดอุณหภูมิ
อุณหภูมิมีหน่วยวัดเป็นองศา C (Degree
Celsius), องศา F (Degree
Fahrenheit) และ K (Kelvin)
โดยมีความสัมพันธ์ดังนี้
C/5 = (F-32)/9 และ K =273+องศา C (ค่าจริง 273.15)
เช่น อุณหภูมิร่างกายคนที่ 37 องศา C หรือ เทียบเท่า องศา F คือ F=9x37/5+32=98.6
หรือ องศา C = 273.15 องศา K เป็นต้น
หลักการวัดอุณหภูมิแบ่งตามลักษณะของตัวตรวจวัดเป็น
แบบแท่งแก้วปรอท แบบเทอร์โมคัพเปิลและแบบอาร์ที่ดี ดังนี้
-
แบบแท่งแก้วปรอท เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบเดิม
ๆ ที่นิยมใช้มานานแล้วคือเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท (Liquid in glass
thermometer: LIG) โดยอาศัยหลักการขยายตัวของของเหลวคือ ปรอท
และมีโครงสร้างดังรูป
- แบบหลักการ Thermo-Electric โดยจะได้จากปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ เมื่อโลหะ 2 ชนิดประกบติดกันที่ปลายด้านหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับอุณหภูมิจะเกิดแรงดันไฟฟ้าที่ปลายทั้งสอง เรียกว่า ซีเบคโวลเตอร์ (Seebeck Voltage) ดังนั้นจึงประยุกต์มาใช้ในการวัดและควบคุมอุณหภูมิ โดยเทอร์โมคัพปิลมีหลายชนิด ขึ้นอยู่โลหะที่ใช้ เช่น Type K ใช้โลหะโครเมล (Chromel) คู่กับ อะโลเมล (Alomel)
-
Resolution คือค่าแยกชัด หรือขีดแบ่ง
โดยจะเป็นค่าที่น้อยที่สุดที่จะอ่านค่าได้ เช่นดังรูป ขีดแบ่งหรือ Resolution
ของเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะแก้ว คือ
5 องศา C , 5 องศา F หรือ 5 Kelvin เป็นต้น
ถ้าเป็นดิจิตอลหมายถึงตัวเลขที่แสดงผลที่ค่าน้อยที่สุด เช่น 0.001 V , 0.1
A หรือ 1 W เป็นต้น
Type K เป็นแบบทั่วไป ราคาถูก
และนิยมใช้ทั่วไปซึ่งจะมีใช้ใน Probe ทั่วไป ในช่วงอุณหภูมิ
-200 °C ถึง +1200 °C
มีความไว (Sensitivity) ประมาณ 41 µV/°C
Type J (Iron / Constantan) ใช้งานที่ช่วงอุณหภูมิ-40
ถึง +750 °C เป็นแบบนิยมรองมาจาก type K มักใช้งานในเครื่องมือวัดแบบเก่าที่ไม่สามารถใช้เทอร์โมคัพเปิลแบบทันสมัย
ห้ามใช้งานเกินย่าน 760 °C
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก