วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565

 23 ตค 2565

น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของเสด็จพ่อ ร.5 


วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ซึ่งจะหยุดราชการชดเชยอีกในวันจันทร์ที่ 24 ตค 2565

เราชาวไทยทุกคนทราบถึงเรื่องที่พ่อทำให้กับพวกเราเช่น การเลิกทาส

การป้องกันการรุกรานของการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก จนต้องสูญเสียแผ่นดินไทย

บางส่วนเพื่อแลกกับความคงอยู่ของไทยให้ไม่ตกเป็นเมืองขี้นของฝรั่งเศสหรืออังกฤษที่กำลัง

รุกรานประเทศรอบๆประเทศไทย เช่น อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น

และด้วยพระอัจฉริยภาพของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงเห็นความสำคัญในการ

พัฒนาประเทศไทยทั่งทางด้านสังคม การคลัง และเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากการที่มีบุคคลต่าง

ประเทศที่แต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษามากมาย และยังทรงเสด็จประพาสต่างประเทศเพื่อแสดงถึงความ

มีพระอัจฉริยภาพในการสร้างมิตรภาพกับประเทศสำคัญๆ เช่น รัสเซีย ซึ่งได้ทรงเป็นพระสหายของ

พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และได้มีการเสด็จประพาสยุโรปถึง 12 ประเทศ เพื่อแสดงถึงความไม่เป็นประเทศ

ที่ด้อยการพัฒนาและประเทศไทยจะพัฒนาตนเองได้ให้ทัดเทียมชาติยุโรป ทรงจ้างชาวต่างชาติมาช่วย

พัฒนาทั้งส่งคนไทยไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ทรงก่อสร้างระบบราชการที่เหมือนกับชาติยุโรป

คำอธิบายภาพที่ทรงฉายคู่กับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 “สยามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หาใช่ประเทศล้าหลังซึ่งมหาประเทศจะอาศัยเป็นมูลเหตุเข้ายึดครองมิได้” (www.mgronline.com)


22 ตค 2566 

วันพรุ่งนี้ 23 ตค 2566 เป็นวันปิยะมหาราช น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของเสด็จพ่อ ร.5

https://www.thaipbs.or.th/news/content/332938

พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามพระองค์ "พระปิยมหาราช” อันมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 ก.ย.2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทราพระบรมราชินี

เลิกทาส พระราชกรณียกิจอีกประการที่สำคัญยิ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเลิกทาส พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการเลิกทาสให้เป็นไท ตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยทรงไม่ต้องการให้มีการกดขี่เหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง และทรงเห็นว่าการมีทาสเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ไม่เหมาะกับประเทศที่เจริญแล้ว พระองค์ได้ปรึกษาราชการแผ่นดินในหลายฝ่าย เพื่อหาวิธีไม่ให้มีเหตุกระทบกระเทือนต่อตัวทาสและเจ้าของทาส ดังนั้นในปี พ.ศ.2416 พระองค์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติทาส ห้ามคนที่เกิดในรัชกาลปัจจุบันเป็นทาส และต่อมาพระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ณ วันที่ 18 ต.ค.2417 ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ทำให้ทรงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไทโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก